วันที่: 10-06-2016
จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง (ป.พ.พ. มาตรา 702)
ตัวอย่าง นายสมชายได้กู้เงินจากนายสมหมายเป็นจำนวน 1 แสนบาท โดยนายสมชายได้นำที่ดินของตนจำนวน 1 แปลงไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 1 แสนบาท ที่นายสมชายได้กู้ไปจากนายสมหมาย โดยนายสมชายไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นายสมหมาย นายสมชายยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติจำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง (ป.พ.พ. มาตรา 702)
ทรัพย์สินที่จำนอง
ทรัพย์สินที่จำนองได้ คือ อสังหาริมทรัพย์ อันหมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ที่ดิน บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา เป็นต้น นอกจากนั้นสังหาริมทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้บางอย่าง เช่น เรือกำปั่น เรือกลไฟ แพที่อยู่อาศัย และสัตว์พาหนะ ถ้าได้จดทะเบียนไว้แล้ว ก็อาจนำมาจำนองได้ดุจกัน เมื่อเจ้าของทรัพย์นำไปจำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าของยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ เช่น อาศัยอยู่ในบ้าน หรือทำสวนไร่หาผลประโยชน์ได้ต่อไป นอกจากนั้นอาจจะโอนขายหรือนำไปจำนองเป็นประกันหนี้รายอื่นต่อไปก็ย่อมได้ ส่วนเจ้าหนี้นั้นการที่ลูกหนี้นำทรัพย์ไปจดทะเบียนจำนอง ก็นับได้ว่าเป็นประกันหนี้ได้อย่างมั่นคงไม่จำเป็นต้องเอาทรัพย์นั้นมาครอบครองเอง
ผู้จำนองต้องระวัง
ผู้มีสิทธิจำนองได้ คือเจ้าของหรือผู้มีกรรมสิทธ์ในทรัพย์สิน ถ้าเจ้าของจำนองทรัพย์สินด้วยตนเองก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำการจำนองแทน บางกรณีก็อาจเกิดปัญหาได้ ข้อควรระมัดระวังคือ ควรเขียนใบมอบฉันทะหรือใบมอบอำนาจให้ชัดเจนว่าทำการจำนอง ไม่ควรเซ็นแต่ชื่อแล้วปล่อยว่างไว้ อันบุคคลอื่นนั้นอาจกรอกข้อความเอาเอง แล้วนำไปทำประการอื่นอันไม่ตรงตามความประสงค์ของเรา เช่น อาจเพิ่มเติมข้อความว่ามอบอำนาจให้โอนขาย แล้วขายเอาเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวเสีย เป็นต้น เราผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ ผู้มอบอำนาจอาจจะต้องถูกผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้น เพราะถือว่าประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย
ผู้รับจำนองต้องระวัง
ผู้รับจำนองทรัพย์สินก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน ควรติดต่อกับเจ้าของทรัพย์หรือเจ้าของที่ดินโดยตรง และควรตรวจดูที่ดินทรัพย์สินที่จำนองว่ามีอยู่จริงตรงกับโฉนด เคยปรากฏว่ามีผู้นำโฉนดที่ดินไปประกันผู้ต้องหาหรือจำเลย แต่ที่ดินตามโฉนดนั้นกลับเป็นถนนเหลือจากการจัดสรร หรือที่ดินตามโฉนดนั้นพังลงน้ำไปหมดแล้ว ดังนั้น ผู้รับจำนองจึงไม่ควรรับจำนอง หรือติดต่อสัญญากับคนอื่นหรือผู้ที่อ้างว่าเป็น ตัวแทน เพราะถ้าปรากฏในภายหลังว่าบุคคลนั้นทำใบมอบฉันทะ หรือใบมอบอำนาจปลอมขึ้นแล้วนำที่ดินของผู้อื่นมาจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ มิฉะนั้น เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะบังคับจำนองยึดทรัพย์เอาที่ดินออกขายทอดตลาด ซึ่งถ้าผู้รับโอนสู้ราคาไม่ได้ ทรัพย์หลุดมือไปเป็นของคนอื่น ดังนั้นที่ซื้อมาก็เสียเงินเปล่า
ผู้รับโอนและผู้รับจำนองซ้อนก็ต้องระวัง
ทรัพย์ที่จำนองนั้นเจ้าของจะนำไปจำนองซ้ำ หรือโอนขายต่อไปก็ย่อมทำได้ ผู้รับจำนองคนหลังต้องพิจารณาว่าทรัพย์นั้นเมื่อขายทอดตลาดจะมีเงินเหลือพอชำระหนี้ของตนหรือไม่ เพราะเจ้าหนี้คนแรกมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อน คนหลังมีสิทธิแต่เพียงจะได้รับชำระหนี้เฉพาะส่วนที่เหลือ ผู้รับโอนหรือผู้ซื้อทรัพย์ที่จำนองก็ต้องระวังเช่นเดียวกัน เพราะรับโอนทรัพย์โดยมีภาระจำนองก็ต้องไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ มิฉะนั้นเจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะบังคับจำนองยึดทรัพย์เอาที่ดินออกขายทอดตลาด ซึ่งถ้าผู้รับโอนสู้ราคาไม่ได้ ทรัพย์หลุดมือไปเป็นของคนอื่น ดังนั้นที่ซื้อมาก็เสียเงินเปล่า
|
|
|